Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
3 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
3 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
...สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์...
วัสดุอุปกรณ์ดังนี้...
1. แกนทิชชู่
2. กรรไกร
3. กระดาษสี
4. ไหมพรม
5. กาว
6. ดินสอ สี
7. ตุ๊ดตู่
1. ตัดครึ่งแกนกระดาษทิชชู่
2. ตัดกระดาษแล้ววาดรูปวงกลม
3. ตัดไหมพรม 1 วา
4. เจาะรูแกนทิชชู่
5. วาดรูปลงในวงกลมแล้วตกแต่งให้สวยงาม
6. นำรูปวงกลมมาติดลงบนแกนกระดาษทิชชู่
สรุปบทความ...
1. เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
นำเสนอโดย นายวรมิตร สุภาพ
2. เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา นำเสนอโดย นางสาวกัญญารัตน์ หนองหงอก
· แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา
เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้
ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง
หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ ดวงอาทิตย์
ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น
เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯล แสงจากดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น
เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล
และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น
และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย
ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้
ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น
การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา ดูเพิ่มเติม
3. เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ?
การเล่า นิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็กเริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารักๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่ามีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่างๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวังก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่าจะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด ดูเพิ่มเติม นำเสนอโดย นางสาวณัฐชยา ชาญณรงค์4. เรื่อง สอนลูกเรื่องไฟฉาย
การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดูเพิ่มเติม นำเสนอโดย นางสาวสุนิสา บุดดารวม
5. เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ดูเพิ่มเติม นำเสนอโดย นางสาว กันยารัตน์ ทุยเที่ยงสัตย์
การนำไปประยุกต์ใช้...
สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือให้เป็นของเล่นที่น่าสนใจ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรม และจากบทความที่เพื่อนนำเสนอสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรม จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคในการเล่านิทาน ข้อควรระวังครูควรคำนึงถึง
Evaluation
5. เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ดูเพิ่มเติม นำเสนอโดย นางสาว กันยารัตน์ ทุยเที่ยงสัตย์
การนำไปประยุกต์ใช้...
สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือให้เป็นของเล่นที่น่าสนใจ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรม และจากบทความที่เพื่อนนำเสนอสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรม จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคในการเล่านิทาน ข้อควรระวังครูควรคำนึงถึง
Evaluation
Self
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจนำเสนอบทความ ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนนำเสนอจับประเด็นสำคัญ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมีการจดบันทึก ร่วมตอบคำถามถึงจะตรงประเด็นบ้างไม่ตรงประเด็นบ้าง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต้มที่
Friends
เพื่อนบางคนเข้าเรียนตรงเวลาบางคนก็เข้าเรียนสาย เตรียมตัวนำเสนอบทความด้วยความตั้งใจ ตั้งใจฟังให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
Teacher
สอนเทคนิคในการประดิษฐ์และให้คำแนะนำเพิ่มเติม สรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่ายและถามคำถามให้นักศึกษามีส่วนร่วม อาจารย์บอกวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น