Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
12 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
ความรู้ที่ได้รับ....
การเรียนการสอนในวันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อนๆออกมากนำเสนอบทความ
3 บทความดังนี้...
1. การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์ การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียนรู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์ แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้ หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก (นำเสนอโดย น.ส.นฤมล เส้งเซ้ง)
2. วิทยาศาสตร์และการทดลอง
การทดลองที่เพื่อนนำเสนอ
ไข่เอย...จงนิ่ม
อุปกรณ์ มีดังนี้...
แก้ว 1 ใบ
ไข่ไก่ 1 ฟอง
น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
เพราะอะไรกันนะ
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม
กระดูกเรา ก็มีแคลเซียมเช่นกัน คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่ มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร (นำเสนอโดย น.ส. วรรณนา เอื่อมวิสุทธิสาร)
3. เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและเล่านิทาน
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน
เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง
นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้
>>> สรุปความรู้ที่เรียนในวันนี้ <<<
การนำไปประยุกต์ใช้...
สามารถนำประยุกต์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรม การเล่น การทดลอง ในเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระไม่ปิดกั้นความคิดเด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี นำเทคนิคการเล่านิทานและการเลือกนิทานไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
Evaluation
Self
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนนำเสนอจับประเด็นสำคัญ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนร่วมตอบคำถามถึงจะตรงประเด็นบ้างไม่ตรงประเด็นบ้าง
Friends
เพื่อนบางคนเข้าเรียนตรงเวลาบางคนก็เข้าเรียนสาย เตรียมตัวนำเสนอบทความด้วยความตั้งใจ
ตั้งใจฟังให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher
สรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่ายและถามคำถามให้นักศึกษามีส่วนร่วม บอกวิธีหาบทความ ต้องเชื่อถือได้ อาจารย์สอนสนุกสนาน